ปีที่ผ่านมาและปีนี้ การพัฒนาแบบ “โค้ชตัวต่อตัว” ยังมาแรงเช่นเดิม การพัฒนาผู้บริหารหรือผู้นำด้วยการโค้ชตัวต่อตัวช่วยให้เกิดการพัฒนาได้เร็วขึ้น เพราะโค้ชและผู้ได้รับการโค้ชสามารถมุ่งเน้นไปด้านที่จำเป็น และใช้เวลาในเรื่องนั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด
1. ผู้ที่ยึดมั่น ถือมั่นในตนเอง เคยเป็นแบบไหน ฉันก็จะเป็นแบบนั้น ไม่อยากเปลี่ยนแปลง ไม่มีแรงจูงใจ ดร.โกลด์สมิทกล่าวว่าผู้บริหารที่จะได้รับการโค้ชด้านนี้และประสบความสำเร็จได้ คือคนที่พร้อมจะพัฒนาตนเอง พร้อมที่จะปฏิบัติตนเองตามค่านิยมและแนวทางที่สอดคล้องกับทิศทางขององค์กรที่อาจเหมือนเดิมหรือมีการเปลี่ยนแปลงได้
2. คนที่องค์กรไม่อยากได้อยู่แล้ว และใช้กระบวนการโค้ชบังหน้า เพื่อเป็นข้ออ้างว่า พัฒนาแล้วไม่ได้ผล แบบนี้ถือเป็นการไม่ยุติธรรมกับผู้ได้รับการโค้ช ไม่อยากให้เขาอยู่ด้วยเหตุผลอะไร ถ้าสมเหตุสมผลก็ควรบอกกันไปเลย
3. คนที่ได้รับการโค้ชไม่ได้มีปัญหาด้านพฤติกรรม แต่เป็นด้านขาดความรู้ ความสามารถด้านอื่น ซึ่งควรหาโค้ชที่เหมาะสมกับความต้องการในการพัฒนา
4. คนที่ไม่มีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่และองค์กร ขาดคุณธรรม ดร. โกลด์สมิทเชื่อว่า คนแบบนี้ควรให้ออกจากองค์กร มากกว่าลงทุนเพื่อพัฒนา
เมื่อมานั่งถกเรื่องนี้กับ ดร.โกลด์สมิทอย่างจริงจังแล้ว เรายังเชื่ออีกว่า ไม่เพียงผู้บริหารระดับสูงเท่านั้นหรอกนะคะที่เป็นเช่น 4 ข้อนี้แล้วโค้ชไม่ได้ บุคลากรทั่วไปก็เช่นกัน เมื่อขาดทั้งแรงจูงใจคือนั่งรอให้ผู้อื่นมาจุดไฟให้ตลอดเวลา มากกว่าที่จะเรียนรู้สร้างแรงจูงใจให้ตนเองบ้าง ตำหนิติเตียนสิ่งแวดล้อมภายนอกอยู่ตลอดเวลา นายคนนั้นก็แย่ เพื่อนร่วมงานคนไหนก็ไม่ดี องค์กรก็ไม่โดน อาหารไม่อร่อย กาแฟขม สารพัด และยิ่งตนเองยังขาดคุณธรรมความซื่อสัตย์ต่อองค์กรและหน้าที่ของตน กลุ่มนี้ควรปล่อยให้เขาไปเรียนรู้ด้วยตนเองดีกว่า เราน่าจะเอาเวลาและทรัพยากรไปลงทุนกับผู้ที่มีความพร้อมจะพัฒนามากกว่า... จริงไหมคะ
บทความโดย : ดร.อัจฉรา จุ้ยเจริญ