วันนี้ แบรนด์มาไกลกว่าตราสินค้า แบรนด์ไม่ได้เป็นเพียงโลโกของสินค้า แต่แบรนด์คือ “คน” คนหนึ่งที่มีชีวิตบนคำว่า Human Spirit ที่เป็นมากกว่า Human Centric ที่มาจาก Insight ของผู้บริโภค ที่นักการตลาดต้องอาศัยชั้นเชิงสื่อสารความเป็นตัวตนทำให้แบรนด์แตกต่างจากแบรนด์คู่แข่ง ให้ผู้บริโภครู้สึกเป็นเจ้าของแบรนด์ นำพามาซึ่งยอดจำหน่ายและ Brand Loyalty ในที่สุด ในยุคที่ Product Development ไม่สามารถสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ได้
Spirit ของแบรนด์ จึงกลายเป็นสิ่งที่มาแรงในยุคนี้ แบรนด์ที่ทรงพลังจะต้องมี ธรรมชาติของแบรนด์ที่มาพร้อมกับ Spirit หรือจิตวิญญาณของแบรนด์ที่ชัดเจน ที่สร้างแบรนด์ให้เป็นแบรนด์ของแท้ ที่มีตัวตนชัดเจนไม่ใช่แบรนด์ลอกเลียบแบบ และที่สำคัญเมื่อแบรนด์สื่อสารออกไป ผู้บริโภคจะต้องรับรู้ได้ทันทีหรือจดจำได้ว่าโฆษณาที่เห็นอยู่นั้น คือแบรนด์อะไร รวมถึงการจดจำแบรนด์ที่อยู่ในโฆษณานั้นได้ ไม่ใช่เพียงจดจำโฆษณาได้ ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญที่สุดในการสื่อการของนักการตลาดที่ไม่สูญเม็ดเงินฟรีจากการสื่อสาร
และแบรนด์ที่มีตัวตนที่ชัดเจน จะสามารถพัฒนาเป็นเคาน์เจอร์ หรือลัทธิที่ผู้บริโภคขาดไม่ได้ในที่สุด
อย่างเช่น Facebook,Line, IG โซเชียลเน็ตเวิร์คที่สร้างพฤติกรรมการใช้งานให้ผู้ใช้รู้สึกติดจนรู้สึกว่าไม่สามารถขาดได้ ซึ่งเป็นเหมือนการสร้างลัทธิผ่านกลยุทธ์ที่เฉียบคมและลงลึกถึง Insight ผู้บริโภค
การเริ่มต้นสร้าง Brand Spirit ให้น่าสนใจต้องมาจากส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้ 3 ประการบนคำว่า Insight ผู้บริโภค ที่เล่นอยู่อารมณ์ของ “คน” ทำให้เกิด Preservation ที่เป็นอารมณ์อยู่ในใจ เช่น Starbucks ไม่ใช่แค่ร้านกาแฟ แต่คือบ้านหลังที่ 3 ของผู้บริโภค Nike ไม่ใช่รองเท้ากีฬาแต่คือชัยชนะของผู้ที่สวมใส่
1. Brand Believe สื่อสารให้ผู้บริโภครับรู้ว่าแบรนด์มีความเชื่ออย่างไร กับสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัว
2. Brand Promise เลิกสื่อสารถึงความเก่งของแบรนด์ เลิกพูดแค่เรื่องฟังก์ชันของโปรดักท์ว่าดีอย่างไร แต่ต้องนำชีวิตความต้องการของผู้บริโภคเป็นฮีโร่ นำเสนอความเป็นฮีโร่ของผู้บริโภค โดยแบรนด์เป็นผู้เบื้องหลังหรือช่วยส่งเสริมความเป็นฮีโร่ของผู้บริโภคอย่างไร เพื่อให้เกิด Win Heart และ Win Mind ในใจผู้บริโภค และผลักดันสู่ Win Head และ Win Spirit เกิดพฤติกรรมเป็นลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
3.Story Telling นักเล่านิทานที่ดี การแข่งขันที่ไม่สามารถนำโปรดักท์เป็นจุดสร้างความแตกต่างได้ ความลับของธุรกิจต่างกันตรงที่การเล่าเรื่องที่สะท้อน Believe และ Promise ของแบรนด์ และองค์กร
ทั้งนี้การสร้าง Brand Spirit นั้นยังคงทำอยู่บนพื้นฐาน 5W +1H ได้แก่ Who - ตัวตนของแบรนด์ Why - หา Brand Purpose สื่อสารแทนการขายสินค้า What - Brand Difference บน Brand Promise When - เลือกเวลาที่จะสื่อสาร Where - Touch Point กับผู้บริโภค และ How - หา Style ของแบรนด์ให้เจอ และใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสื่อสาร แล้วการสร้างแบรนด์สู่แบรนด์ตัวแม่จะไม่ได้เป็นเพียงแบรนด์ใหญ่เขาทำกันเท่านั้น แค่แบรนด์เล็กก็เกิดได้ ถ้ามี Brand Spirit ที่เข้มแข็งพอ
Credit : marketeer.co.th