เราจะใช้ “จิตวิทยา” ทำเว็บไซต์ให้ “น่าเชื่อถือ” สยบลูกค้าได้อย่างไร?

เราจะใช้ “จิตวิทยา” ทำเว็บไซต์ให้ “น่าเชื่อถือ” สยบลูกค้าได้อย่างไร?


“ใครๆ เขาก็ทำกันทั้งนั้นแหละ” คำพูดติดปากเวลาเราจะทำอะไรตามๆ คนอื่นมาจากไหนกัน?

เรื่องนี้มีวิทยาศาสตร์อธิบายได้ซึ่งนักจิตวิทยาเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า พฤติกรรมรวมกลุ่ม (Conformity หรือ Bandwagon effect)




จากการทดลองนี้ การทำตามๆ คนอื่นจะทำให้เรารู้สึกสบายใจขึ้น ไม่ถูกทิ้งหรือถูกแยกออกจากกลุ่ม


นักการตลาดเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ว่า เครื่องพิสูจน์จากสังคม (Social Proof)




ซี่งเป้าหมายของเครื่องพิสูจน์ที่ว่ามีอยู่อย่างเดียวคือ “ทำให้ผู้คนพูดถึงมากขึ้น” โดยอวดหลักฐานที่แบรนด์ของเราเป็นที่ยอมรับจากคนอื่นไม่ว่าจะเป็นคนที่เข้าดูเว็บไซต์ ผู้ที่มีอิทธิพลในโลกออนไลน์ ผู้ติดตามแพลตฟอร์มของแบรนด์ของเรา และที่สำคัญคือลูกค้าที่ซื้อและใช้งานสินค้าใช้บริการของเราจริงๆ

ช่วยให้คนที่เข้ามาดูเว็บไซต์และกิจการตัดสินคุณค่าแบรนด์ของเราได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

และนี่คือ 7 เทคนิคง่ายๆ แต่ปราบเซียนให้คนแนะนำเว็บไซต์ของเราต่อๆ กันไปไม่สิ้นสุด!


1. เขียนรีวิวและคำแนะนำจากผู้ใช้งานจริง

ถ้าคุณพูดถึงสินค้าของเราเอง นั่นเรียกว่า “การตลาด” แต่ถ้าลูกค้าพูดถึงสินค้าของเรา นั่นเรียกว่า “เครื่องพิสูจน์”

และนี่เป็นสาเหตุทำให้รีวิวและคำแนะนำจากผู้ใช้งานจริงเป็นกลยุทธ์ทรงพลังสุดๆ คำพูดที่มาจากบุคคลที่สามย่อม “น่าเชื่อถือ” และบรรลุเป้าหมายในการตลาดได้เข้าเป้ากว่า เพราะเป็นคำพูดที่ออกมาจากความรู้สึกจริงๆ ไม่ได้ออกมาจากหัวคิดของนักการตลาด

ฉะนั้นถ้ายกคำแนะนำของลูกค้าที่ใช้งานสินค้าและบริการของเราไว้บนทุกๆ เพจของเว็บไซด์แล้วล่ะก็ รับรองว่าแบรนด์ของเราจะน่าชื่อถือขึ้นอีกเยอะ!

และอย่าทำเพจสำหรับรีวิวและคำแนะนำของลูกค้าแยกต่างหากนะ ไม่มีใครเขาอยากกดเข้าไปเพื่ออ่านจริงๆ มากนักหรอก




เว็บไซต์นี้เกี่ยวกับบริการท่องเที่ยว ขอให้วางคำแนะนำจากผู้ใช้สินค้าจริงไว้ให้ถูกที่แบบนี้ สร้างความน่าเชื่อถือเว็บไซต์และแบรนด์ได้อีกเยอะ


2. ให้ผู้มีอิทธิพลในโลกออนไลน์ออกโรงรับรองแบรนด์ของเรา

ให้ผู้เชี่ยวชาญและเหล่าดาราเซเลปทั้งหลายทั้งโลกออฟไลน์และออนไลน์ออกมาโปรโมทรับรองแบรนด์ของเราไปเลย ยิ่งเราเลือกดาราได้เข้ากับสินค้าและบริการของเราได้มากเท่าไร่ แบรนด์ของเรายิ่งน่าเชื่อถือ มีคนไว้ใจมากขึ้นเท่านั้น

ฉะนั้นถ้าธุรกิจของเราเคยได้รับคำชมจากคนดังที่มีเหล่าแฟนคลับของเราชอบ ไปหามาว่าเขาพูดอะไร ลอกมันมาแปะในเว็บไซด์ด้วย ถ้าจะให้ปัง ใส่รูปของคนที่พูดเข้าไปด้วย จะเพิ่มความเน่าเชื่อถือของคำพูดได้อีกเท่าตัว




เว็บไซต์นี้ขายหนังสือ Social Media Tool Guide มีคนดังในวงการ Social Media มาให้คำนิยมพร้อมภาพแบบนี้ ช่วยได้เยอะ


3. อวดตัวเลขยอดผู้ติดตามในอีเมลลิสต์หน่อย

เชื่อว่าใครทำธุรกิจหลายๆ คนก็อยากให้คนลงทะเบียนในเว็บไซต์เยอะๆ ฉะนั้นก็ต้องสร้างความน่าเชื่อถือรอบๆ ฟอร์มลงทะเบียนไว้ก่อนจริงมั้ย? บอกไปเลยว่าเราจะส่งเนื้อหาอะไรไปให้ทางอีเมล ส่งบ่อยแค่ไหน

และที่สำคัญคือ Social Proof ขาดไม่ได้แน่ๆ ถ้ามีคนลงทะเบียนกับเราเยอะ โชว์ตัวเลขไปเลยว่ามีกี่คนแล้วที่มาลงทะเบียนบนเว็บไซต์ของเรา หรือถ้าไม่ได้มีเยอะขนาดนั้น ก็ใช้เทคนิคแรก คือคำแนะนำจากผู้ที่ลงทะเบียนบางคนว่าได้ประโยช์อะไรบ้างจากเนื้อหาที่ได้รับในอีเมลทุกครั้ง ใส่รอบๆ ฟอร์มลงทะเบียน




เวิร์คสุดๆ หลังจาก Orbit Blog ปรับฟอร์มลงทะเบียนใหม่น่าเชื่อถือขึ้น ก็มีอัตราคนมาลงทะเบียนรับข่าวสารเพิ่มถึง 1,400%


หรือการโชว์จำนวนที่ถูกทวิต ไลค์ และแชร์สำหรับทุกๆ โพสต์ ก็สะท้อนให้เห็นว่าเนื้อหาโพสต์ของเรานั้นมีคนชอบมากน้อยแค่ไหน




แต่ถ้าจำนวนไม่เยอะพอแบบนี้ อย่าโชว์เลยดีกว่า!


5. ใส่ปุ่มไลค์ คอมเม้นท์ แชร์สำหรับ Twitter และ Facebook เข้าไปด้วย

ซึ่งวิตเจ็ทของ Twitter และ Facebook มีอยู่แค่ 3 อย่าง
- ขนาดของคนที่ติดตาม
- รูปโปรไฟล์ของคนที่ติดตาม
- โพสต์ที่เกี่ยวข้องและผู้ติดตามล่าสุด

ฉะนั้นถ้ามีคนเข้ามาดูเว็บไซต์ แล้วเห็นรูปของเพื่อนหรือคนที่เขารู้จักติดตามเว็บไซต์ของเราอยู่แล้ว ก็ยิ่งทำให้คนที่เข้ามาดูนั้นกดติดตามเว็บไซต์ของเราด้วย ไม่งั้นได้ถูกทิ้งท้ายแน่ๆ!

แต่ถ้าเรามี Facebook หรือ Twitter ที่ไม่ได้อัปเดต ถูกปล่อยร้าง ก็อย่างเอามาติดเป็นวิทเจ็ตบนเว็บไซต์เลย นอกจากจะไม่มีใครอยากกดติดตามแล้ว ยังทำลายความน่าเชื่อถือแบรนด์ของเราด้วย




Moz Blog ใช้วิทเจ็ทโชว์ให้คนเยี่ยมบล็อกว่ามีฐานแฟนแน่นขนาดไหน!


6. “ตามที่เห็นในสื่อต่างๆ เช่น...” ติดโลโก้สื่อให้โลกรู้!

ถ้าแบรนด์ของเราเคยออกสื่อ หรือเคยถูกพาดพิง เราก็มีโอกาสที่จะเพิ่มความน่าเชื่อถือและเพื่อจำนวนคนเข้าชมเว็บไซต์แล้ว ติดโลโกสื่อที่เคยพูดถึงแบรนด์ของเราบนหน้าโฮมเพจเลย




ซึ่งวิธีนี้ได้ผลสำหรับกิจการที่ประชาสัมพันธ์อยู่แล้ว แต่ใช่ว่าพวกบล็อกเกอร์รับเชิญจะไม่มีโอกาสนี้ ถ้าเราเคยถูกเชิญให้เขียนโพสต์ลงในเว็บไซด์ดังๆ ขอแนะนำให้เอาโลโก้ของเว็บไซต์นั้นแปะลงบนเว็บไซต์ของเราด้วย


7. มีโซนโลโก้ที่แสดงรางวัลความน่าเชื่อถือบนเว็บไซต์ด้วย

ถึงจะเป็นโซนเล็กๆ บนโฮมเพจก็เถอะ ก็ของให้มีไว้ ถ้ากิจการของเราเป็นสมาชิก ได้รับรางวัลหรือเรตติ้งขององค์กรไหนที่น่าเชื่อถือและเกี่ยวข้องกับลุกค้า อย่าลืมเอามาใส่ในโซนนี้ด้วย




อย่างเว็บไซต์นี้จัดโชนแสดงโลโก้รางวัลและสถานภาพสมาชิกขององค์กรที่เคยเข้าร่วมไว้ใต้เว็บไซต์ แถมมีคำแนะนำจากอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเว็บไซต์นี้ ความน่าเชื่อถือกินขาด


สุดท้ายถ้าอยากให้ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์เพิ่มขึ้นเรื่อง ก็ควรทำสิ่งที่กำลังจะบอกต่อไปนี้
- ทำโฟลเดอร์เก็บอีเมลคำชมจากลูกค้า สื่อ ผู้มีอิทธิพล และจากที่ต่างๆ ที่เห็น
- ถ่ายรูปหน้าจอโพสต์ที่มีคำชมต่อเว็บไซต์ของเรา
- ถ้ามีกระดาษโน้ตคำชมที่ส่งมาให้เรา ก็ควรจะมีซองจดหมายเก็บไว้

อัพโหลดคำชมบางส่วนไม่ซ้ำกันลงบนเพจ และอย่าลืมทำเพจขอบคุณให้น่าเชื่อถือขึ้นด้วย







Credit : marketingoops.com

 1871
ผู้เข้าชม

myAccount Cloud Accounting โปรแกรมบัญชีออนไลน์สำหรับ SMEs โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ทำให้การทำบัญชีของคุณ เป็นไปอย่างง่ายดาย สะดวก รวดเร็ว

ข่าวสารล่าสุด

เมื่อวันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม 2557 เวลา 13.30-16.00 น. อาจารย์นิลาวรรณ วงศ์ศิลปมรกต อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ พร้อมคณะอาจารย์ และ ...
2103 ผู้เข้าชม
หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ พร้อมคณะอาจารย์ และ นักศึกษาระดับชั้น ปวช.ปีที่ 1 รวมทั้งสิ้น 73 คน ได้เข้าเยี่ยมชม บริษัท โปรซอฟท์ คอมเทค จำกัด
2696 ผู้เข้าชม
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2557 เวลา 14.00 น. Mr. Marc Miller Vice Consul ได้เข้าเยี่ยมชมบริษัท โปรซอฟท์ คอมเทค จำกัด
2185 ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์