"การ Leverage IT การใช้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด และก่อให้เกิดคุณประโยชน์ที่สูงที่สุดนั่นเอง" --...วาทะ Nagavara Ramarao Narayana Murthy...Billionaire อินเดียผู้ให้กำเนิด Infosys
วาทะของ Murthy ครั้งที่มาเป็นองค์ปาฐกให้ธนาคารกรุงเทพเมื่อสี่ปีก่อน (Murthy พูดตั้งนานมาแล้ว แต่สิ่งที่เขาพูดมันกำลังเกิดขึ้น “จริง!!” ในปัจจุบัน นี่แหละที่เราเรียกว่า คนที่มี Vision อย่างแท้จริง มันทำให้ทุกคำพูด และทุกแนวคิด สามารถนำมาศึกษาต่อยอด พัฒนาความคิดของคนเล็กๆอย่างพวกเราได้ดีขึ้น “สุดยอดจริงๆ ครับ!!”)
…เศรษฐีอินเดียเหล่านี้สร้างตัวจากมือเปล่า ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ ไม่น่าจะสร้างธุรกิจได้ … “ประเทศอินเดีย ใครๆก็รู้ว่า Infrastructure ตั้งแต่ระบบราชการ การขนส่ง แรงงาน การคอรับชั่น ..พูดง่ายว่าไม่มีอะไรที่เอื้อในการสร้างกิจการระดับโลก อย่าง Infosys ได้เลย ..แต่!! พวกเขาทำได้ และทำได้ดีด้วย”
ปัจจุบันอินเดียถือว่าเป็น Back Office ของโลก …พวกเขาใช้เพียง “Internet + เครื่องคอมพิวเตอร์ -- มองข้ามทุกอย่างไป แล้วสร้างกิจการระดับโลก” …. คนไทยเกิดในสภาวะน้ำมีปลานามีข้าว ทำธุรกิจก็แสนง่าย ระบบการขนส่ง ท่าเรือ เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจ .. “เราน่าจะทำได้อย่างพวกเขาบ้าง ..ลองทำดู!!”
“Leveraging Information Technology” (ติดปีกการแข่งขัน ให้ธุรกิจด้วย IT) โดย Narayana N R Murthy (ผู้ก่อตั้ง Infosys Technology “เศรษฐีพันล้าน ผู้มีแนวคิดติดดิน” ..ชายผู้นี้สร้างปรากฏการณ์ให้ให้โลกเห็นว่า การหั่นบริษัทออกเป็นซีกๆ แล้ว นำไปตั้งอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก มันเป็นเรื่องที่ทำได้ และทำได้ดีเสียด้วย “NR Murthy” บิดา ของ White Collar Outsourcing --- “ผู้แจ้งเกิดให้อินเดีย กลายเป็น Back Office ของโลก ในเวลาไม่ถึง 10 ปี” …ปัจจุบัน Infosys เป็นบริษัท Outsource ในด้าน IT ที่ใหญ่อันดับต้นๆของโลก มีพนักงาน 122,468 คน กระจายสำนักงานไปใน 33 ประเทศทั่วโลก)
..จะว่าไปแล้ว Infosys ไม่ใช่เพียงแค่บริษัท IT รายใหญ่ของโลก หากแต่เป็นบริษัทที่สร้างคุโณปการ ต่ออุตสาหกรรม IT ของอินเดียเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากการจ้างงานที่มหาศาลแล้ว สิ่งที่ Infosys ได้สร้างมันคือ มหาวิทยาลัยที่ใหญ่โตและสุดทันสมัย เพื่อมุ่งเน้นในการพัฒนาบุคคลากร ซึ่งเราพูดได้เต็มปากว่า ชายผู้นี้ Narayana N R Murthy เป็นผู้วางรากฐานทางด้าน Infrastructure ของอุตสาหกรรม IT ที่ยิ่งใหญ่ ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก …สุดยอดจริงๆ)
ต่อไปนี้เป็นการสรุปใจความสำคัญของปาฐกถา ของ Murthy ที่ได้มาเป็นองค์ปาฐกในงาน “รำลึกถึงคุณชิน โสภณพนิช ครั้งที่ 9 ที่ธนาคารกรุงเทพสำนักงานใหญ่”
เกริ่นนำ
“ผมมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมาแสดงมุมมองของการ “leveraging IT” ในวันนี้ …เราปฏิเสธไม่ได้ว่า
อุตสาหกรรม IT ได้มีบทบาทต่อบริบทในการแข่งขันของธุรกิจในด้านต่างๆ ….ผู้ที่สามารถใช้ IT ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จะสร้าง Competitive edge ทั้งในด้านของต้นทุนและ Productivity
Information Technology เป็นอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วย Innovation ..ทุกองค์กรทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจ , วงการศึกษา , โรงพยาบาล , กลุ่มทางสังคม ตราบจนรัฐบาล ล้วนได้ประโยชน์จากการ นำ IT มาใช้ในการประหยัดต้นทุน รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต ไม่ว่าจะเป็น ในเชิงของการปรับปรุงและลดต้นทุน เช่น ลดการเดินทาง , การเชื่อมโยง กับลูกค้า ด้วยค่าใช้จ่าย ต้นทุนที่ต่ำลง …ในธุรกิจธนาคาร ATM คงเป็นเรื่องที่เป็นไม่ได้ หากปราศจาก IT และ IT เองก็คงไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง หากปราศจาก Infrastructure และ เครือข่าย
การวิวัฒนาการของระบบ IT
อุตสาหกรรม Computer เกิดขึ้นในช่วง 1940 – 1950 จากประเทศอเมริกา ซึ่งจุดเริ่มต้น มันพัฒนามาจากวงการศึกษา ..ผู้เล่นที่มีบทบาทสำคัญใน Computer ยุคแรกก็เช่น IBM , BUNCH , UNIVAC , NCR , Control Data Corporation และ Honeywell ในยุคแรก Computer เป็นอะไรที่ใหญ่เทอะทะ ประสิทธิภาพต่ำ และราคาแพง ..ปัญหาง่ายๆเท่านั้นที่เครื่อง Computer ในยุคแรกๆ จะแก้ไขได้ …ในยุคต่อมาเป็นยุคเริ่มต้นของ Minicomputers และ Super minicomputers (ซึ่งทั้งขนาดและราคา ย่อขนาดลงมา จากยุคแรกๆ มากทีเดียว) ต่อมาในยุคนี้เป็นยุคแห่งการกำเนิดอุตสาหกรรม Software ซึ่งพัฒนาไปควบคู่กับ ฐานข้อมูล จากนั้นเราก็เข้าสู่ยุค PC ที่นำทัพโดย Bill Gates และ Steve Jobs วัตถุประสงค์ ก็เพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึง Computer ได้ในวงกว้าง และใช้งานง่ายที่สุด ..และจุดนี้เอง ที่เป็นจุดเปลี่ยน ที่พลิกอุตสาหกรรม Computer ให้แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง ในระดับของปัจเจกชน Computer ก่อให้เกิดการสร้าง “ชุมชนเสมือน” ที่เชื่อมต่อ บุคคลในวงกว้าง ด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำมาก
ในยุคที่สี่ คนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มใช้ Internet เข้ามาในชีวิตและส่วนหนึ่งของการทำงานอย่างขาดไม่ได้ “และนี่ที่เราเรียกว่า ยุคคลื่นที่สี่ของ Computer.. ในส่วนของ Web 2.0 เอง ตัว Internet จะกลายมาเป็น platform หรือ โครงสร้างรากฐานของการเชื่อมโยงที่เป็นหนึ่งเดียว
ปัจจัยสำคัญที่สร้างให้เกิดการกระจายตัวของ IT อย่างกว้างขวาง ประกอบไปด้วยแรงขับในห้าปัจจัย ดังนี้
1. อุปกรณ์ Computer ที่นับวันจะมีราคาถูกลงเรื่อยๆ
2. การลดลงของต้นทุนในการสื่อสาร ซึ่งเพิ่ม bandwidth ที่เอื้อให้เราสามารถส่งข้อมูลในหลายรูปแบบด้วยต้นทุนที่
ต่ำมาก
3. การลดลงอย่างมหาศาลของหน่วยความจำ และ การระบบการเก็บข้อมูล รวมทั้งการกระจายข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
4. การเกิดขึ้นของ “ยุคที่เนื้อหา ถูกสร้างขึ้นจาก ผู้ใช้ (นั่นก็คือ ใครก็ได้ที่สามารถเชื่อมต่อ Computer คนนั้นก็สามารถ
ผลิต Content ได้)”
5. การยอมรับในการ Offshoring IT “นั่นคือ ความเป็นไปได้ในการทำงาน ที่สามารถร่วมมือกัน โดยบุคคลที่อยู่ห่างกัน
คนละซีกโลก เช่น อินเดียได้กลายมาเป็น Back Office ของโลก
อะไรคือ Globalization (โลกาภิวัฒน์)
Globalization ก็คือ การที่เราสามารถหาต้นทุน จากแหล่งที่มีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำที่สุด ใช้ทรัพยากรบุคคลที่เยี่ยมยอดที่สุด โดยไม่มีข้อจำกัดว่า บุคคลากรนั้น จะอยู่ที่ใดก็ได้ในโลก และ สามารถขายสินค้าไปที่ใดก็ได้ โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของพรมแดนและประเทศ ..โดยทั้งหมดต้องตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ต้นทุนที่เกิดขึ้นจะต้องต่ำกว่าต้นทุน ณ ราคาตลาดนั้นๆ โดยปกตินั่นเอง
แล้วมันเกี่ยวอะไรกับเรา !!
ในบทความของ Theodore Levitt ว่าด้วยเรื่อง “The Globalization of Markets” ในนิตยสาร Harvard Business Review ชี้ประเด็นของ IT ที่จะย่อโลกให้เป็นหนึ่งเดียว ..ในบทความได้ชี้ประเด็น ที่ว่าบริษัท ต้องสามารถปรับตัวและมองโลก เสมือนตลาดเพียงตลาดเดียว …สิ่งที่แน่นอนในธุรกิจปัจจุบันคือ “Change” ไม่มีใครหนีพ้นการเปลี่ยนแปลง “ให้สังเกต บริษัทใหญ่ระดับ Fortune 500 ถูกโละทิ้งออกไปจากกระดานเกือบครึ่ง ทุกๆ 10 ปี …มันบ่งบอกให้เรารู้ว่า Change or Die!!”
การเปลี่ยนแปลงในด้าน Business Models
G7 ไม่ใช่ผู้นำในการขยายตัวของ GDP อีกต่อไป ..โลกจะขยายตัวจาก emerging economies อย่างเช่น จีน และ อินเดีย…กลบทแห่งการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ เปลี่ยนมุมมองของบริษัทในอุตสาหกรรมต่างๆ (ตั้งแต่ภาคบริการไปจนภาคการผลิตและ อุตสาหกรรม) ซึ่งหันมาให้ความสนใจกับตลาดเกิดใหม่อย่าง emerging market มากขึ้น วัฏจักรชีวิตของสินค้า Product Life Cycle “มันสั้นลงเรื่อยๆ” …ภาพของการขายของล้าสมัย สู่ตลาด Emerging Market มันเป็นภาพที่หมดยุคไปแล้ว ..ปัจจุบันกลายเป็นการผลิตจากตลาดเกิดใหม่ แล้วย้อนกลับไปขายในตลาดประเทศพัฒนาแล้ว ..ประเทศเอเชียได้กลายมาเป็น ผู้ผลิตใน Supply Chain..ไม่เพียงแต่การผลิตเท่านั้น มันได้ครอบคลุมไปถึงในด้าน การบริการ และ Customer service เราก็ได้เพิ่มบทบาทอย่างเด่นชัด ตัวอย่าง ก็อย่างประเทศอินเดียที่กลายมาเป็น Back Office ของบริษัทต่างๆ
..นอกจากนี้การเข้ามาตั้ง R&D ในเอเชีย ส่งผลให้เกิดงานวิจัยที่สามารถคิดในกรอบที่เหนือกว่าในเรื่องของต้นทุนที่ประเทศพัฒนาแล้ว ไม่เคยคาดคิดมาก่อน ดูอย่างรถยนต์ที่สามารถผลิตในราคาที่ต่ำกว่าที่ทั่วโลกจะสามารถจินตนาการได้ ในส่วนของธนาคารที่เข้าไป Focus ตลาดเอเชีย ได้โตในอัตราที่ดีกว่า ประเทศตะวันตก ..อย่าง Standard Chartered Bank คาดว่าในปี 2010 รายได้ของ Private Banking จะมาจากอินเดียถึง 15%
“นับเป็นความท้าทายต่อสภาวะการแข่งขันที่เขย่ากลยุทธ์และแบบฉบับ ความสำเร็จ แบบเดิมๆ ชนิดหน้ามือเป็นหลังมือจริงๆ”
“ธุรกิจเฉือนชนะกันที่ข้อมูล”
Wal-mart เป็น Case Study ที่น่าสนใจ ของกิจการที่เน้นการเอาข้อมูล พฤติกรรมการซื้อของลูกค้ามาวิเคราะห์ และสนองตอบความต้องการ โดยที่ลูกค้าไม่จำเป็นต้องร้องขอ ..ระบบ POS ของ Wal-mart ได้ทำการเชื่อมโยง กับระบบการวิเคราะห์ข้อมูลแบบชนิด Real-time ซึ่งจุดนี้จะเชื่อมโยงไปกับระบบการสั้งซื้อและ Supply Chain รวมทั้งการ นำข้อมูลมาช่วยในเรื่องของการ บริหาร Inventory ที่เยี่ยมยอด “ใครคิดว่า Wal-mart เป็นบริษัทค้าปลีก ผมว่าคุณต้องคิดใหม่ … เพราะแท้จริงแล้ว Wal-mart คือบริษัท IT ทางด้านการค้าปลีกที่เยี่ยมยอดที่สุดในโลกต่างหาก”
ทั้งหมดมันเกี่ยวอะไรกับคุณ!!
แน่นอนไม่มีใครปฏิเสธความสำคัญที่ IT กำลังเปลี่ยนบริบทในการแข่งขัน ในรูปแบบของ Do or Dies ..มันไม่จำเป็นหรอกว่าคุณจะเป็นอุตสาหกรรม IT เพราะจากนี้ไประบบ IT และ Internet มันได้หล่อหลอมเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุน / เป็นส่วนหนึ่งของการบริการ / เป็นส่วนหนึ่งของการขาย / เป็นส่วนหนึ่งของการตลาด … “มันคือทุกสิ่งที่คุณหลีกเลี่ยงไม่ได้!!”
ความร่วมมือกันสร้างคือหัวใจในยุค IT
Don Tapscott และ Anthony D. Williams กล่าวไว้ในหนังสือ Wikinomics ของเขาว่า สิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนโลก คือ การร่วมมือกันของคนที่สามารถเข้าถึงข้อมูลนับเป็นพันล้านคน ที่จะเข้ามาช่วยกันสร้าง และเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม และการแข่งขันแบบเดิมๆ ไปอย่างชิ้นเชิง
วิธีการเปลี่ยนแปลงหลักๆ ประกอบไปด้วย 4 ปัจจัย ซึ่งก็คือ
การเปิดเผย (Openness) เช่น การร่วมมือกันผ่าน Open source Software อย่าง Wikipedia ที่คนนับล้านๆ เข้ามาสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ร่วมกัน หรืออย่าง YouTube ที่ทุกคนทั่วโลกต่างนำ VDO เข้ามา Post และแบ่งปัน เกิดเป็นสังคมที่เปิดเผยความจริงในแง่ต่างๆ มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
การเชื่อมโยง (Peering) การเชื่อมโยงที่มากกว่าการเชื่อมต่อ Internet แต่มันเป็นการแบ่งปัน Bandwidth แบ่งปันพลัง Computer รวมทั้งการแบ่งปันความรู้ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก
การแบ่งปัน (Sharing) จะเป็นการเชื่อมโยงทางความรู้ที่ Internet ได้กลายมาเป็นฐานข้อมูลที่สำคัญที่สุดในโลก ด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุด
การ Act Globally คุณต้องสร้างวิสัยทัศน์ ในระดับโลก ก่อนที่คุณจะ Obsolete หรือตกขอบโลกไป!!
ตัวอย่างของบริษัทอย่าง P&G ก็ได้เริ่มการทำธุรกิจแบบสองทาง นั่นคือ การเปิดรับ Input ที่มาจากลูกค้า (ตัวอย่างที่น่าสนใจ ก็เช่น อุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีความรู้ในเรื่องของ Social Network ได้อาศัยช่องทางเหล่านี้ในการรวมกลุ่มผู้มีความสนใจในด้านต่างๆ โดยอาศัย Content เป็นหัวใจของการขับเคลื่อน ….ในอดีตเรามองว่าสื่อคือพลัง เพราะช่องทางในการติดต่อมีน้อย มีทีวี วิทยุ จำนวนจำกัด ดังนั้นอำนาจอยู่ที่การ Control สื่อ …แต่ในยุคนี้มันเปลี่ยนแบบพลิกขั้ว เพราะอำนาจมันกลับมาสู่เนื้อหา หรือ Content เพราะการเกิดของ Internet และการพัฒนา Bandwidth และความรวดเร็วในการเชื่อมต่อ
…ปัจจุบัน Channel ในการเข้าถึงลูกค้ามันมีอย่างไม่จำกัด ดังนั้นวิธีการเดียวที่คุณจะครอบครองช่องทางในการสื่อสารกับลูกค้าก็คือ “มันไม่มี” …ยุคนี้ลูกค้าเป็นผู้เลือก และนี่คือกลยุทธ์การแข่งขันที่ จะทำให้องค์กรใหญ่ๆ ล้มหายตายจากไปอีกครึ่งโลก ในเวลาไม่ถึง 10 ปีข้างหน้า “มันช่างท้าทาย ความสามารถของผู้กำหนด ทิศทางขององค์กรอย่างแท้จริง”)
การคืนอำนาจสู่ผู้บริโภค
Tom Friedman ได้กล่าวในหนังสือขายดีของเขา The World is Flat ว่า การแข่งขันในยุคต่อไป มันผูกไว้กับ ITรัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการจัดหา Computer และรูปแบบการเชื่อมโยงในต้นทุนที่ต่ำ ..ตัวอย่างของรัฐบาล เช่น การสร้าง e-governance ที่สร้างความโปร่งใส ในระบบราชการ ตัวอย่างของ Project ที่บ้านเกิดผมเอง เรียกว่า “Bhoomi” ซึ่งเป็นการสร้างความโปร่งใสของระบบ การถือครองที่ดิน ที่กระทบต่อชีวิตของชาวนา 6.7 ล้านชีวิต “มันทำให้ทุกอย่างโปร่งใสขึ้น” ซึ่งโครงการนี้ ได้ริเริ่มโดย World Bank ซึ่งสร้างผลงานช่วยเหลือคนอินเดีย ได้อย่างน่ายกย่องมาก
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นตัวอย่างและแนวความคิดในการนำ IT เข้าสร้างประโยชน์ในหลายๆ ด้านตั้งแต่การแข่งขันในเชิงธุรกิจตลอดจนการนำ IT มาใช้ในการยกระดับคุณภาพชีวิต ด้วยการเข้าถึงข้อมูลและฐานความรู้ที่มากมาย ด้วยต้นทุนที่ต่ำ รวมทั้งการนำระบบ IT มาสร้างความโปร่งในระบบ ราชการและเอกชน “ผมเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชม และสนใจประเทศไทย” ซึ่งผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า แนวคิดต่างๆ เหล่านนี้สามารถนำมาปฏิบัติและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและคุณภาพชีวิตโดยรวมของคนเอเชียได้อย่างทั่วถึงและยั่งยืน นี่แหละคือการ Leverage IT การใช้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด และก่อให้เกิดคุณประโยชน์ที่สูงที่สุดนั่นเอง ..“ขอบคุณครับ”
ที่มา : คุณ นนท์ นักแสวงหาโอกาส