CALL US
081-359-6920
E-MAIL
info@softbankthai.com
Menu
Home
About Us
ธนาคารซอฟท์แวร์
ถอดรหัส DNA โปรซอฟท์
Prosoft Way
Social Enterprise
Prosoft Roadmap
Creative Park
Startup
Prosoft family
Company
Company Profile
History
Management Team
Gallery
Office Location
Financial
Awards & Standards
Job Opportunity
Who We Are
Prosoft Comtech Co.,Ltd.
Prosoft ERP Co.,Ltd.
Prosoft HCM Co.,Ltd.
Prosoft Web Co.,Ltd.
Prosoft ITO Co.,Ltd.
Onlinesoft Comtech Co.,Ltd.
What We Do
Where We Work
กรุงเทพฯ
เชียงใหม่
How We Work
Marketing Innovation
Product Innovation
Service Innovation
Management Innovation
Human Capital Management
Lean Management
Happy Work Place
แนวทางการทำงาน
พี่สอนน้อง
Our Model
ทำกำไรด้วยการ "ให้"
เล่าสู่กันฟัง
News
Jobs
หน้าแรก
How We Work
Our Model
แฮปปี้นอย คอนวีเนียนสโตร์คนจนตากาล็อก
แฮปปี้นอย คอนวีเนียนสโตร์คนจนตากาล็อก
ย้อนกลับ
หน้าแรก
How We Work
Our Model
แฮปปี้นอย คอนวีเนียนสโตร์คนจนตากาล็อก
แฮปปี้นอย คอนวีเนียนสโตร์คนจนตากาล็อก
ย้อนกลับ
แฮปปี้นอย'ผลิตผลธุรกิจน้ำดีแห่งเมือง'ตากาล็อก' เครือข่ายร้านค้าชุมชนสู่ร้านสะดวกซื้อมีแบรนด์ เพื่อนำสินค้าและบริการเข้าถึงคนจนทั่วฟิลิปปินส์ มีต้นแบบธุรกิจน้ำดีมากมาย ที่ปรากฏตัวในเวที สัมมนาธุรกิจเพื่อสังคม Social Entrepreneurship Symposium จากงาน “Soul & Sell Innovating for IMPACT & PROFIT” เวทีประกวดแผนธุรกิจเพื่อสังคม GSVC เมื่อเดือนที่ผ่านมา พวกเขาคือเหล่าผู้นำนักคิด ที่ได้รับการยอมรับด้านธุรกิจเพื่อสังคมในเวทีระดับโลก เช่นเดียวกับชายหนุ่มที่ชื่อ “แบม อคีโน” (BAM AQUINO) ผู้ริเริ่มร้านสะดวกซื้อเพื่อคนจน นาม “แฮปปี้นอย” (Hapinoy) ในฟิลิปปินส์ ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งและประธานของ “Microventures” บริษัทที่ให้สินเชื่อขนาดเล็กแก่คนจน ฝึกอบรมธุรกิจค้าปลีก และ สนับสนุนคนที่มีฐานะยากจนโดยเฉพาะกลุ่มสตรีในฟิลิปปินส์
การถือกำเนิดขึ้นของ “แฮปปี้นอย” มาจากแนวคิดที่อยากยกระดับคุณภาพชีวิตของคนจนในดินแดนตากาล็อก อคีโน บอกเราว่า มีคนฟิลิปปินส์มากถึง 40% ที่จัดอยู่ในกลุ่มคนยากจน คน 1 ใน 4 ของประเทศ ยังอยู่กันอย่างยากลำบาก ผลิตภัณฑ์และบริการหลายอย่างเข้าไม่ถึงพวกเขา หลายคนไม่มีโอกาสได้พบหมอ และเป็นเรื่องน่าเศร้า ที่สินค้าอุปโภคบริโภคสำหรับคนจนล้วนมีราคาแพง
แล้วจะทำอย่างไรให้ “คนจน” ไม่ต้องเป็นกลุ่มคนที่ “ตกขอบ”
อคีโน จึงชักชวนเพื่อนของเขา มาสร้างสรรค์อะไรดีๆ ให้กับแผ่นดินเกิด ขณะที่เพื่อนเขามีประสบการณ์ด้านธุรกิจ จากการทำงานในบริษัทต่างชาติ อคีโน ก็มีมุมเพื่อสังคม จากการทำงานให้กับรัฐบาล สองมุมคิดที่ผสานเป็นธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) อย่างลงตัว กลายเป็นที่มาของร้านสะดวกซื้อเพื่อคนจน “แฮปปี้นอย” ในวันนี้ แนวคิดร้านสะดวกซื้อเพื่อคนจนเกิดขึ้นในปี 2006 และเริ่มโครงการของพวกเขาตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา
การแก้ปัญหาการเข้าถึงสินค้าและบริการของคนจน ไม่จำเป็นต้องพึ่งเทคโนโลยีมากมาย แต่พวกเขาสามารถใช้ “ต้นทุน” ที่มีอยู่ภายในประเทศ อย่างร้านค้าชุมชนทั่วฟิลิปปินส์ ที่คนเมืองตากาล็อก พร้อมใจกันว่า “ส่าหรี ส่าหรี” โดยใช้ร้านเหล่านี้ มาเป็นเครือข่ายร้านสะดวกซื้อ “แฮปปี้นอย” วิธีคิดที่ไม่ต้องลงทุนไปกับการตั้งร้านค้าขึ้นมาใหม่ ไม่ต้องห่วงว่าทำเลจะเข้าไม่ถึงคนจน เพราะร้านค้าเหล่านี้อยู่กับคนตากาล็อกมาหลายยุคหลายสมัยแล้ว สิ่งที่เป็นผลพลอยได้สำคัญ คือกระบวนการนี้ยังสามารถเข้าไปแก้ปัญหาผู้ประกอบธุรกิจ ร้าน ส่าหรีส่าหรี ได้อีกด้วย
“ที่ฟิลิปปินส์เรามีร้านค้าชุมชนอยู่เยอะมาก ที่เราเรียกว่า ส่าหรี ส่าหรี แต่คนเหล่านี้ไม่มีโอกาสขยับฐานะตัวเองเลย เรามองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น จึงนำร้านเหล่านี้มาทำ เอาโครงสร้างที่มีอยู่แล้วและเป็นส่วนหนึ่งของสังคมฟิลิปปินส์ มาเป็นเครือข่ายร้านสะดวกซื้อเพื่อคนจน” วิธีคิดสำหรับการแก้ปัญหา ให้คนจนเข้าถึงสินค้า ก็ทำได้แล้ว มาถึงการควบคุมสินค้าคุณภาพดีให้จำหน่ายได้ในราคาที่ถูก ก็คือเข้าสู่ระบบธุรกิจของพวกเขา “แฮปปี้นอย” มีโกดังสินค้าของตัวเอง พวกเขามีระบบการบริหารจัดการที่ดี นำส่งสินค้าไปยังรายสะดวกซื้อที่เป็นเครือข่าย สามารถขายของให้กับชุมชนได้ในราคาที่ถูก ร้านสะดวกซื้อทั่วไป อาจมีสินค้ามาตรฐานที่เห็นเหมือนกันในทุกร้าน แต่กับ “แฮปปี้นอย” สินค้าเป็นไปตามความต้องการของชุมชน อคีโน บอกว่า บางพื้นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ของที่ขายในร้านก็จะมีแผงโซลาร์เซลล์จำหน่ายด้วย พื้นที่ห่างไกลหมอ ยังมียาคุณภาพ จำหน่ายในราคาที่ถูก เหล่านี้คือการพัฒนาร้านค้าชุมชนที่ไปสู่การแก้ปัญหาของชุมชนได้อย่างแท้จริง
นอกจากนี้ ยังเป็นการขยับคุณภาพชีวิตให้คนจน นั่นคือการพัฒนาเหล่าเจ้าของร้านที่เคยถูกคนฟิลิปปินส์ตราหน้าว่า “อาชีพของคนขี้เกียจ” ให้เป็นธุรกิจที่มีอนาคตขึ้นวิธีการคือ การนำพวกเขามาอบรม ให้ความรู้เรื่องการทำระบบบัญชี การบริหารจัดการร้าน ให้เงินไปลงทุนในการทำธุรกิจ การพัฒนาสินค้าของชุมชน ดึงกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มสตรี มาเป็นเจ้าของธุรกิจ เพื่อให้ผู้หญิงลุกขึ้นมามีบทบาทในสังคมมากขึ้น และสามารถมีอำนาจในการตัดสินใจสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง เมื่อทำธุรกิจเป็น รู้เรื่องการทำระบบบัญชี ทำให้ผู้ประกอบการส่าหรี ส่าหรีในอดีต ก็มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีรายได้จากอดีตที่ประมาณ 60 ดอลลาร์ต่อเดือน ก็สามารถเพิ่มเป็น 200-300 ดอลลาร์ต่อเดือนได้ เมื่อรายได้เพิ่มขึ้น ก็นำมาสู่การขยายเครือข่าย แฮปปี้นอยให้กว้างขวางออกไป
เปลี่ยนภาพธุรกิจของคนขี้เกียจ มาเป็นธุรกิจแห่งโอกาสของคนตากาล็อกได้อย่างเต็มภาคภูมิ
ไม่เพียงการแก้ปัญหาของคนจน และพัฒนาคุณภาพชีวิตอาชีพดั้งเดิมของคนฟิลิปปินส์ หากมันยังรวมถึงการใช้เครือข่ายร้านแฮปปี้นอยที่อยู่ในชุมชน มาเป็นหูเป็นตาให้กับหน่วยงานต่างๆ อย่างการเฝ้าระวังปัญหาการค้ามนุษย์ นำข่าวแปลกปลอมมารายงานเจ้าหน้าที่ เป็นการสร้างพลังให้กับชุมชน ที่นำไปสู่การแก้ปัญหาใหญ่ๆ ให้กับประเทศได้ในที่สุด “เราพยายามสร้างพลังให้กับประชาชน ให้เขาสามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง ลุกขึ้นมาในฐานะเจ้าของธุรกิจที่มีศักดิ์ศรี และมีความสุขที่ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ร่วมแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสังคมของเราได้ด้วย”
ปัจจุบัน “ร้านแฮปปี้นอย” เป็นเครือข่ายร้านสะดวกซื้อที่ครอบคลุมถึง 160 ชุมชนในฟิลิปปินส์ และมีร้านค้าสมาชิกกว่า 700 ร้าน โดยที่คนขับเคลื่อนไม่ต้องใช้เทคโนโลยีอะไรมากมาย ใช้เพียงเครือข่ายในการค้าขายที่มีอยู่แล้ว และพวกเขาก็มุ่งไปทำเรื่องการวิจัยตลาด พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงระบบการทำงาน เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจจะเดินหน้าต่อไปได้ และสามารถขยายบทบาทตัวเอง ไปสู่บริษัทที่ให้สินเชื่อธุรกิจขนาดเล็ก การฝึกอบรมด้านธุรกิจค้าปลีกและให้การสนับสนุนแก่ผู้หญิงที่มีฐานะยากจนในประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อช่วยให้พวกเธอได้เป็นเจ้าของกิจการ “ร้านแฮปปี้นอย”
อคีโน บอกเราว่า เป้าหมายของเขา คือ จะขยายร้านแฮปปี้นอย มากถึง 5-6,000 ชุมชนทั่วฟิลิปปินส์ให้ได้ เพื่อให้ร้านสะดวกซื้อคนจน ที่พวกเขาสรรสร้างขึ้นมานั้น ได้งอกงามเป็นธุรกิจน้ำดี ทั่วดินแดนตากาล็อก “ตอนที่พวกผมเริ่มทำ แฮปปี้น้อย มีแต่คนว่าพวกเราเพี้ยน ที่คิดทำโครงการแบบนี้ มันคงเป็นได้แค่ความฝัน แต่วันนี้พวกเราก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ถ้ามุ่งมั่น ทุกอย่างมันสามารถเป็นความจริงขึ้นมาได้”
แฮปปี้นอย คือการผสมผสานกันระหว่าง คำว่า Happy ในภาษาอังกฤษ รวมกับ Pinoy ในภาษาตากาล็อก ธุรกิจน้ำดีที่ ไม่ได้เข้ามาเพียงแก้ปัญหาให้คนฟิลิปปินส์ หากยังรวมถึง การสร้าง “ความสุขอย่างยั่งยืน” ให้กับประเทศที่พวกเขารักด้วย
บทความโดย :
คุณจีราวัฒน์ คงแก้ว
ที่มา :
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
1501
ผู้เข้าชม
ข่าวสารล่าสุด
ดูทั้งหมด
การดูงาน >> ม.นอร์ท : 22/8/57
การดูงาน >> ม.นอร์ท : 22/8/57
เมื่อวันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม 2557 เวลา 13.30-16.00 น. อาจารย์นิลาวรรณ วงศ์ศิลปมรกต อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ พร้อมคณะอาจารย์ และ ...
2107 ผู้เข้าชม
การดูงาน >> วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ : 16/6/57
การดูงาน >> วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ : 16/6/57
หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ พร้อมคณะอาจารย์ และ นักศึกษาระดับชั้น ปวช.ปีที่ 1 รวมทั้งสิ้น 73 คน ได้เข้าเยี่ยมชม บริษัท โปรซอฟท์ คอมเทค จำกัด
2697 ผู้เข้าชม
ข่าวการเยี่ยมชมบริษัท
ข่าวการเยี่ยมชมบริษัท
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2557 เวลา 14.00 น. Mr. Marc Miller Vice Consul ได้เข้าเยี่ยมชมบริษัท โปรซอฟท์ คอมเทค จำกัด
2190 ผู้เข้าชม
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com