“My child, pay attention and listen to my wisdom and insight. Then you will know how to behave properly, and your words will show that you have knowledge.” Proverbs 5:1-2
a และอดีตประธานคณะผู้บริหารของบริษัท Revlon กล่าวในหนังสือที่เขาเขียน Lessons on Leadership ว่า “I believe that the keys to any successful organization are the quality of its leadership and its ability to effectively devise and execute plan.” ข้าพเจ้าเชื่อว่ากุญแจแห่งความสำเร็จขององค์กรใดๆคือคุณภาพของการเป็นผู้นำและความสามารถในการออกแบบเครื่องมือที่จะใช้และการปฏิบัติตามแผนอย่างมีประสิทธิภาพ
อนาคตที่รุ่งโรจน์ขององค์กรหรือบริษัทในระยะยาวอยู่ที่การขับเคลื่อนอย่างเข้มแข็งของผู้นำองค์กร ความเป็นผู้นำ (Leadership) ของผู้นำผู้บริหารจึงเป็นปัจจัยหลักของความสำเร็จ หรือความล้มเหลวขององค์กร ความเป็นผู้นำในที่นี้ไม่ได้หมายถึงผู้นำที่ออกมายืนอยู่แถวหน้าแล้วใช้ความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวพาคนตะลุยเข้าไปในสมรภูมิเพื่อรบจนแพ้หรือชนะ แต่หมายถึงผู้นำองค์กรที่สามารถมองเห็นจุดหมาย (Destination) ในอนาคตที่ประสบความสำเร็จขององค์กร และสามารถขับเคลื่อนนำองค์กรไปสู่จุดหมายที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ จนได้รับความสำเร็จเกินความคาดหวัง (Beyond expectations)
ดังนั้นสิ่งแรกที่ผู้นำองค์กร หรือผู้บริหารบริษัทจะต้องมีคือ ความสามารถในการมองเห็นภาพ (Envision) อนาคตขององค์กร เพราะถ้าผู้นำผู้บริหารองค์กร ไม่มีภาพขององค์กรที่ประสบความสำเร็จในอนาคต หรือมีภาพขององค์กรในอนาคตที่เบลอๆไม่ชัดเจน ผู้นำผู้บริหารองค์กรจะไม่สามารถกำหนดจุดหมายขององค์กรที่ต้องการได้ การที่ผู้นำผู้บริหารองค์กรมีภาพขององค์กรที่ประสบความสำเร็จในอนาคตที่ชัดเจน ทำให้ผู้นำผู้บริหารองค์กรสามารถกำหนดจุดหมายที่ต้องการนำองค์กรเดินไปให้ถึง ซึ่งจะทำให้ผู้ร่วมงานในองค์กรทุกระดับเห็นภาพจุดหมายเดียวกัน มีความเข้าใจตรงกัน สามารถทำยุทธศาสตร์และแผนงานที่จะนำองค์กรไปสู่เป้าหมายระหว่างกาล (Interim objectives) ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ เพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่จุดหมายที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ
การมีจุดหมายที่ชัดเจน (A clear destination) ทำให้คนในองค์กรมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ทำให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้น (Exciting) มีความรู้สึกท้าทาย (Challenging) และมีความอยาก (Desire) ที่จะมุ่งหน้าก้าวเดินไปสู่จุดหมายขององค์กรที่ผู้นำผู้บริหารได้กำหนดไว้ องค์กรที่ไม่มีจุดหมาย หรือมีจุดหมายที่ไม่ชัดเจน คนในองค์กรทำงานอย่างไม่มีผลิตผล (Unproductive) หรือมีผลิตผลที่ต่ำ (Underproductive) ทำให้องค์กรสูญเสียเวลาและทรัพยากรไปอย่างไม่คุ้มค่า
What is an organizational destination? อะไรคือจุดหมายขององค์กร
จุดหมายขององค์กรอาจจะหมายถึง ตำแหน่งของบริษัทในท้องตลาด (A company’s position in the marketplace) หรือจุดที่ต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท เช่น ผู้บริโภค (Consumers) ลูกค้า (Customers) ผู้ถือหุ้น (Shareowners) บุคลากร (Employees) และคนอื่นๆที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร
ตัวอย่างจุดหมายองค์กรที่ผู้นำของบริษัท FedEx บริษัทขนส่งพัสดุภัณฑ์ทุกอย่างที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ได้กำหนดไว้เพื่อแสดงจุดยืนที่ชัดเจนของบริษัทว่า “We live to Deliver” เรามีชีวิตอยู่เพื่อส่งของ และ “The World on Time” ทั่วโลกตรงเวลา จุดหมายที่ชัดเจน ของผู้นำองค์กรบริษัท FedEx ทำให้คนในองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัททั้งผู้ถือหุ้น ลูกค้า เข้าใจจุดหมายของบริษัทอย่างชัดเจนว่า ชีวิตของบริษัท FedEx คือ อยู่เพื่อเป็นผู้ขนส่งพัสดุภัณฑ์ เป็นบริษัทที่รู้เรื่องและมีความชำนาญมากที่สุดในเรื่องการขนส่งพัสดุภัณฑ์ และเป็นบริษัทที่ให้บริการขนส่งพัสดุภัณฑ์ทุกชนิดทั่วโลกโดยให้พัสดุภัณฑ์ที่ส่งถึงมือลูกค้าตรงเวลา ไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใดในโลก
การเดินทางไปสู่จุดหมายที่กำหนดไว้จึงไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ เพราะการจะทำให้พัสดุภัณฑ์ทุกชนิด ทุกชิ้น ทั้งชิ้นเล็กชิ้นใหญ่ของบริษัท FedEx ส่งถือมือลูกค้าได้ถูกต้อง ถูกพัสดุภัณฑ์ ถูกสถานที่ ถูกคน ไม่ว่าจะอยู่จุดใดในโลกตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ บริษัทFedEx ต้องมีปัจจัยองค์ประกอบอีกมากมาย ต้องมีคนทำงานที่มีคุณภาพประจำอยู่ในสำนักงานทั่วโลก มีพาหะขนส่งหลายชนิด มีอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัยในการลำเลียง มีระบบการบริหารจัดการที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ มีระบบเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า มีความรู้และประสบการณ์อย่างมาก จึงสามารถทำให้บรรลุถึงจุดหมายของบริษัทได้
การมีจุดหมายที่ท้าทาย ทำให้คนในองค์กรมีความคิดใหม่ๆออกมา ทำให้องค์กรมีความคิดที่ดีที่สุด (The best thinking) นำไปใช้เป็นกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่จุดหมาย เพราะคนที่มีประสิทธิภาพสูงในการทำงาน (High performers) มีความต้องการเป็นเจ้าของแผนการที่จะเดินไปสู่จุดหมาย ต้องการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน
ผู้นำบริษัท Revlon ในอดีตเมื่อต้องการขับเคลื่อนบริษัทไปสู่การเป็นผู้นำเครื่องสำอางในระดับโลก ได้กำหนดจุดหมายว่า “A global beauty leader, led by color cosmetics, driven by our passion for our exciting brands, creativity, and quality.” จุดหมายของการเป็นผู้นำโลกเรื่องความสวยงาม นำโดยมีเครื่องสำอางที่มีสีสัน ขับเคลื่อนด้วยความรักหลงใหลในเสน่ห์ของ Brand ที่ชวนให้ตื่นเต้น ริเริ่มสร้างสรรค์และมีคุณภาพ แต่ปรากฏว่าทีมงานในองค์กรมีความรู้สึกว่าเป็นจุดหมายที่ยังไม่ชัดเจนจึงพากันเสนอความคิดที่หลากหลายต่อผู้บริหารของบริษัท จนในที่สุดบริษัทได้จุดหมายทางธุรกิจ (Business destination) ที่ชัดเจนมากขึ้นคือ “Delivering the promise of beauty” หรือ เป็นผู้ส่งความสวยงามที่เป็นความหวังในอนาคตให้แก่ลูกค้า ทำให้คนในองค์กรเข้าใจถึงจุดหมายของบริษัทในการเป็นผู้นำผลิตภัณฑ์ความสวยงามมาให้ลูกค้า บริษัทจึงต้องมีสินค้าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหลากหลายชนิดที่จะทำให้ลูกค้ามีความงามตามความต้องการ บริษัทจะต้องเป็นผู้นำในการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีคุณภาพใหม่ๆอย่างต่อเนื่องเพื่อนำความสวยความงามมาให้ลูกค้า บริษัทต้องทำให้ Brand ของ Revlon โดดเด่นมากขึ้น มีสื่อโฆษณาที่สร้างความตื่นเต้น มีสินค้าใหม่ที่มีคุณภาพตอบสนองความต้องการของลูกค้าเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง Revlon กลายเป็นผลิตภัณฑ์ความสวยงามที่ผู้หญิงทั่วโลกให้ความไว้วางใจมากที่สุด ยอดขายสินค้าของ Revlon พุ่งขึ้นทะลุเป้าหมาย เป็นความสำเร็จเกินกว่าที่คาดหวังไว้
ในปี 1994 บริษัท Coca-Cola มีส่วนแบ่งตลาด (Market share) ในสหรัฐอเมริกาประมาณ 40% ผู้บริหารบริษัท Coca-Cola จึงตั้งจุดหมายใหม่ว่าจะทำให้เครื่องดื่มน้ำอัดลมของบริษัทมีส่วนแบ่งตลาดเป็น 50% เพิ่มขึ้น 10% ภายในปี 2000 โดยใช้จุดหมายทางธุรกิจว่า “360 degree Coca-Cola landscape” มีความหมายว่าขาย Coca-Cola รอบทิศทางทุกถิ่นสถาน จุดหมายใหม่นี้ทำให้บริษัท Coca-Cola มียุทธศาสตร์ในการขยายพื้นที่ในการขายมากขึ้นทุกช่องทาง เพิ่มเครื่องขายหยอดเหรียญ (Vending machines) เพิ่มพนักงานขาย เพิ่มและสร้างสรรค์โฆษณาใหม่ๆ เพิ่มรายการส่งเสริมการขาย และพัฒนาคุณภาพสินค้าอย่างต่อเนื่อง เวลา 6 ปีในการรณรงค์ไปสู่จุดหมายใหม่ทำให้ในปี 2000 บริษัท Coca-Cola มีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 45% แม้ว่าจะไม่สามารถบรรลุถึงจุดหมายในเวลาที่กำหนดไว้ แต่บริษัทก็สามารถเดินหน้ามาได้ถึงครึ่งทางของจุดหมาย และเป็นรากฐานใหม่ในการเปลี่ยนยุทธศาสตร์ (Strategic shift) ทำให้ Coca-Cola สร้าง Brand ใหม่ เพิ่มการโฆษณา เพิ่มช่องทางขาย ขยายพื้นที่ขายทำให้ยอดขายเติบโตขึ้น
การที่ผู้นำผู้บริหารมีจุดหมายที่ชัดเจนทำให้องค์กรหรือบริษัทมีจุดหมายที่ชัดเจนด้วย ทำให้สามารถกำหนด วัตถุประสงค์ที่สามารถวัดได้ (Measurable objectives) เพื่อนำองค์กรหรือบริษัทไปสู่จุดหมายที่ต้องการ วัตถุประสงค์ที่สามารถวัดได้นี้ อาจจะได้แก่การเพิ่มส่วนแบ่งตลาดกี่เปอร์เซ็นต์ เพิ่มรายได้ขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ เพิ่มกำไรกี่เปอร์เซ็นต์ หรือทำให้ความพึงพอใจของลูกค้าเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ วัตถุประสงค์ที่วัดได้ทำให้สามารถตรวจสอบความคืบหน้าขององค์กรในการเดินทางไปสู่จุดหมาย และทำให้ผู้นำผู้บริหารสามารถปรับแผนกลยุทธ์ใหม่ ปรับผู้รับผิดชอบใหม่ ปรับเทคโนโลยีใหม่ ปรับระยะเวลาใหม่ หรือปรับวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพให้เหมาะสมกับสถานการณ์
การมีจุดหมายที่ชัดเจนทำให้ผู้บริหารทุกระดับมีการคิดไปข้างหน้า (Forward thinking) เพราะการขับเคลื่อนไปสู่จุดหมายคือการเดินไปข้างหน้า ผู้นำผู้บริหารจึงต้องคิดไปข้างหน้าเรื่อยๆว่า เมื่อเดินถึงจุดหนึ่งแล้วจะต้องทำอะไร ทำอย่างไรต่อไปอีกเพื่อไปให้ถึงจุดหมายที่ต้องการ ปัญหาขององค์กรหลายแห่งเกิดจากการไม่มีจุดหมายที่ชัดเจน ทำให้เมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้วจะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน และอีกไม่นานปัญหาในเรื่องเดียวกันจะเกิดขึ้นซ้ำอีก เพราะการแก้ไขปัญหาไม่ได้แก้ไขโดยวิธีการคิดไปข้างหน้า แต่เป็นการคิดเฉพาะหน้า เนื่องจากองค์กรไม่มีจุดหมายข้างหน้า หรือมีจุดหมายข้างหน้าที่ไม่ชัดเจน
สิ่งที่ผู้นำและผู้บริหารจะต้องทำเมื่อมีจุดหมายที่ชัดเจนแล้วคือการสื่อสารให้คนทั้งองค์กรมองเห็นจุดหมายชัดเจนเหมือนเช่นเดียวกับตนเอง และทำให้คนในองค์กรยอมรับว่าจุดหมายที่เห็นนั้นเป็นจุดหมายของตนด้วยเช่นกัน ความยากของการนำองค์กรอยู่ตรงนี้ ตรงที่จะทำให้คนส่วนใหญ่ในองค์กรเห็นจุดหมายเดียวกันและเห็นเหมือนกัน เพราะมุมมองของการเห็นจุดหมายของแต่ละคนแตกต่างกัน
ผู้นำและผู้บริหารองค์กร ต้องเป็นผู้อ่านใจ (Mind reader) คนในองค์กรทุกระดับ ว่าเขามีความเข้าใจอย่างไรในจุดหมายที่กำหนด และสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้น ความล้มเหลวในการนำคนในองค์กรไปสู่จุดหมายมักจะเกิดขึ้นจากการที่ผู้นำผู้บริหารคิดว่า คนในองค์กรมีหน้าที่ต้องอ่านใจผู้นำผู้บริหาร มีหน้าที่ต้องทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้นำผู้บริหารคิด การปล่อยให้ผู้ร่วมงานเป็นฝ่ายอ่านใจทำให้มีโอกาสเกิดความคลาดเคลื่อนขึ้นได้ เพราะคนในองค์กรมีโอกาสอ่านใจผู้นำผู้บริหารผิดพลาดได้มากกว่าการที่ผู้นำผู้บริหารเป็นฝ่ายทำความเข้าใจกับผู้ร่วมงานด้วยตนเอง
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพทำให้คนในองค์กรรู้ว่าผู้นำผู้บริหารมีจุดหมายอย่างไร ผู้นำผู้บริหารจึงต้องทำความเข้าใจกับคนในองค์กรว่า ขณะนี้เราอยู่ที่ไหน (Where we are now?) และผู้นำผู้บริหารต้องการให้คนในองค์กรมุ่งไปสู่จุดหมายใด (Where we want to go?) ถ้าคนในองค์กรมองเห็นจุดหมายชัดเจนตรงกันแล้ว และยอมรับว่าเป็นจุดหมายที่ต้องการ ความร่วมมือในการหายุทธศาสตร์และการทำกลยุทธ์เพื่อเดินไปสู่จุดหมายจะเกิดขึ้น การวางแผนและแผนงานกิจกรรมต่างๆจะเกิดขึ้น ตัวชี้วัดและการประเมินผลจะเกิดขึ้น และการคิดก้าวหน้าจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกว่าองค์กรจะเดินไปถึงจุดหมาย
Jim Rohn กล่าวว่า “You cannot change your destination overnight, but you can change your direction overnight” ท่านไม่สามารถเปลี่ยนจุดหมายของท่านในค่ำคืนเดียว แต่ท่านสามารถเปลี่ยนทิศทางในการไปสู่จุดหมายของท่านในค่ำคืนเดียวได้
Earl Nightingale กล่าวว่า “All you need is the plan, the road map, and the courage to press on to your destination” สิ่งจำเป็นทั้งหมดที่คุณต้องคือ แผนการ แผนที่เดินทาง และความกล้าในการยึดมั่นกับจุดหมายของคุณ
คุณเป็นผู้นำ ผู้บริหารองค์กรที่มีจุดหมายชัดเจนหรือยังครับ
บทความโดย : คุณวิโรจน์ เย็นสวัสดิ์ | Facebook
ที่มา: Lessons on Leadership / เขียนโดย สมชัย ศิริสุจินต์