1. ทำเป็นตัวอย่าง : แทนที่จะกังวลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ ผลงาน และ Commitment ของคนอื่น หรือทีมงานเดียวกัน, เราต้องมุ่งทำเป็นตัวอย่างเพื่อให้ทีมงานรู้ว่าเราก็รัก และมุ่งมั่นทำงานอย่างหนัก อย่างเต็มประสิทธิภาพเช่นกัน มุ่งเน้นไปที่การทำงานของเราให้ดีที่สุด เมื่อเราทำเช่นนี้ทุก ๆ วัน มันจะเกิดเป็นมาตรฐานให้กับเราโดยอัตโนมัติ และส่งผลไปถึงยังผู้อื่นอีกด้วย
2. พยายามใช้จุดแข็งของตัวเองช่วยเหลือทีมงาน : ทุก ๆ คนย่อมมีจุดแข็งเป็นของตนเอง หากเราหรือสมาชิกในทีมงานช่วยการแชร์จุดแข็ง นำจุดแข็งของแต่ละคนมาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จะทำให้ทั้งตัวเรา ทีมงาน มุ่งไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดจนนำไปสู่ความสำเร็จ
3. แบ่งบันแนวคิดหรือประสิทธิภาพที่เป็นด้านบวกของเรา : ผลวิจัยบอกว่าอารมณ์และความรู้สึกถือว่าเป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง โดยในแต่ละวันเราต้องมีการติดต่อพูดคุยกับทีมงานอยู่สม่ำเสมอ หากเราปล่อยพลังด้านบวกออกมาบ่อย ๆ คนที่อยู่รอบข้างหรือทีมงานของเราก็จะได้รับพลังด้านบวกไปด้วย ถ้าปล่อยด้านลบออกมามาก ๆ ก็ส่งผลให้ทีมงานอาจได้รับพลังด้านลบด้วย ถึงแม้ทีมงานจะมีทัศนคติที่ดีเพียงใด ดังนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเรา และทีมงานควรช่วยกันสร้างสิ่งที่เป็นด้านบวกอยู่สม่ำเสมอ เพื่อสร้างเป็นนิสัยต่อไป
4. รู้และเข้าใจอัตราส่วน : ทีมงานที่มีประสิทธิภาพที่ดีจะมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกมากกว่าเชิงลบ คิดเป็นอัตราส่วน 3:1 ทีมงานลักษณะนี้จะมีทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่วนทีมงานที่มีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับเชิงลบเป็น 2:1 หรือ 1:1 จะมีแนวโน้มปานกลาง ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ซึ่งเราสามารถเข้ามาช่วยเป็นทีมงานที่ดีขึ้นได้ ด้วยการปล่อยพลังด้านบวกเข้าสนับสนุนอยู่เสมอ
5. ทำเพื่อทีมเป็นอันดับแรก : ทีมที่ดีมักเกิดจากสมาชิกที่ดีทุก ๆ คน สมาชิกที่ทำงานอย่างหนัก ทุ่มเท และต้องการพัฒนาตนเอง เพื่อที่จะพัฒนาทีมให้ดีขึ้น มักให้เครดิตต่อทีมเสมอ ไม่ใช่เอาเข้าตัวเอง
6. พยายามสร้างความสัมพันธ์ : ความสัมพันธ์เป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ การบรรลุเป้าหมายได้โดยง่าย สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ได้ง่าย ช่วยเหลือกันได้ง่าย ถึงแม้ว่าคุณจะเป็นคนเก่งแค่ไหนหากคุณไม่สื่อสารกับคนอื่น ยังไงก็ทำงานร่วมกับผู้อื่นด้วยความยากลำบาก
7. เชื่อมั่นและไว้วางใจในทีมงาน : เราจะไม่สามารถมีทีมงานที่แข็งแกร่งได้ หากเรายังไม่เชื่อมั่นในทีมงานของเรา เชื่อมั่นใน Project ของเรา ดังนั้นเมื่อเราอยู่ในทีมแล้ว เลือกทีมนี้แล้ว สิ่งแรกเลยคือเราต้องเชื่อมั่นในสิ่งที่เราเลือก และทำมันให้ดีที่สุด
8. รับผิดชอบร่วมกัน : แม้ว่าบางทีทีมงานหรือใครคนใดคนหนึ่ง อาจเป็นคนที่ทำผิดพลาด หรือทำให้อีกคนผิดหวัง เราไม่ควรจะผลักความผิดนั้นให้ใครแต่เพียงผู้เดียว เมื่อเราอยู่ทีมเดียวกันแล้ว เราต้องช่วยกันรับผิดชอบ ไม่ใช่ใครเพียงคนใดคนหนึ่ง เพราะนี่คือทีมงาน วิธีนี้จะช่วยให้ทีมงานรักกันมากยิ่งขึ้น และประสบความสำเร็จได้ในที่สุด
9. อ่อนน้อมถ่อมตน : การเป็นสมาชิกในทีมที่ดี เราควรที่จะเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน ถึงเราจะเป็นคนที่เก่งเพียงใด แต่เราก็ควรจะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย รู้จักเข้าหาผู้อื่นเพื่อสร้างสัมพันธ์ไมตรีต่อกัน
Credit : jongordon.com , ณรงค์ฤทธิ์ เหล่าวาณิชวัฒนา